Animated Blinking Gingerbread Man

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โคลงสี่สุภาพ
       โคลงสี่สุภาพ เป็นโคลงชนิดหนึ่งที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด ด้วยเสน่ห์ของการบังคับวรรณยุกต์เอกโทอันเป็นมรดกของภาษาไทยที่ลงตัวที่สุด คำว่า สุภาพ หรือ เสาวภาพ หมายถึงคำที่มิได้มีรูปวรรณยุกต์

ประวัติความเป็นมา

       โคลงสี่สุภาพ ปรากฏในวรรณกรรมไทย ตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา ปรากฏในมหาชาติคำหลวงเป็นเรื่องแรก  และมีวรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 3 เรื่อง ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ และลิลิตพระลอ
สมัยอยุธยาตอนกลาง วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพ ได้แก่ โครงเรื่องพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม และโคลงราชสวัสดิ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระนายรายณ์มหาราช โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามของพระศรีมโหสถ
สมัยอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ โคลงนิราศพระบาท โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย และกาพย์ห่อโคลงพระราชนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
สมัยธนบุรี ได้แก่ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และลิลิตเพชรมงกุฎ
สมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพที่เด่น ๆ ได้แก่ ลิลิตะเลงพ่าย โคลงนิราศนรินทร์ โคลงนิราศสุพรรณ โคลงโลกนิติ สามกรุง
โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ที่กวีชอบแต่งและผ่านการพัฒนามายาวนานจนมีฉันทลักษณ์ที่ลงตัวและเป็นแบบฉบับดังที่ยึดถือกันในปัจจุบัน

ลักษณะบังคับ

๐ ๐ ๐ เอก โท

๐ x (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ x

เอก โท
๐ ๐ เอก ๐ x

๐ เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โท

เอก โท ๐ ๐
อ่านเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เนื้อหาเรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ผู้แต่ง  :  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ลักษณะการแต่ง  :  ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ
ที่มาของเรื่อง  :  มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ในหมวด ชวนคิดพิจิตรภาษา
จุดมุ่งหมายในการแต่ง  :  แสดงแนวพระราชดำริเกียวกับบทกวีไทยของจิตร ภูมิศักดิ์ และบทกวีจีนของหลี่เชิน ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
สาระสำคัญ  :  เป็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีไทยและบทกวีจีน ซึ่งกล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนา เนื้อความแสดงถึงความเข้าพระทัยปัญหาต่างๆ ของชาวนา และยังสะท้อนให้เห็นพระเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่มีต่อชาวนา ทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย ทำให้เห็นภาพว่าชาวนาจีนกับชาวนาไทย “ ไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าใดนัก ”
ข้อคิดที่ได้รับ  :  วรรณกรรมจะสะท้อนให้เห็นภูมิหลังและวิถีชีวิตของคนในแต่ละชาติ แต่ละสมัย ซึ่งสิ่งที่เป็นสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ มักจะมีลักษณะที่คลายกัน และความเท่าเทียมในสังคมเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องพึงเอาใจใส่ดูแล ความงดงามในการใช้ภาษาบันทึกเหตุการณ์ ทำให้เกิดความรู้สึกประทับใจและเกิดความเห็นอกเห็นใจได้
-     แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่และความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนความเมตตาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
-  เห็นถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
-  คุณค่าและประโยชน์ของข้าวทุก ๆ เม็ด
ตัวชี้วัด    31102
1.            อ่านออกเสียงร้อยแก้ว  ร้อยกรอง  ได้ถูกต้องและเหมาะสม
2.            ตีความ  แปลความ  ขยายความ  เรื่องที่อ่านได้
3.            วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่าน
4.            ประเมินค่าเรื่องที่อ่าน  และนำไปใช้ในชีวิตจริง
5.            แสดงความคิดเห็น  โต้แย้ง  และเสนอความคิดใหม่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
6.            ตอบปัญหาเรื่องที่อ่าน
7.            มีมารยาทในการอ่าน
8.            เขียนสื่อสารได้ถูกต้องตามรูปแบบและใช้ภาษาได้ถูกต้อง
9.            เขียนเรียงความ
10.    เขียนย่อความ
11.    ผลิตงานเขียนของตนเองในรูปแบบต่างๆ
12.    ประเมินงานเขียนของผู้อื่น  และนำมาพัฒนางานเขียนของตนเอง
13.    เขียนรายงานการค้นคว้า
14.    บันทึกการค้นคว้า
15.    มีมารยาทในการเขียน
16.    ประเมินเรื่องที่ฟังและดู
17.    เลือกเรื่องที่ฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ
18.    พูดในโอกาสต่างๆ
19.    มีมารยาทในการฟัง  การดู  และการพูด
20.    แต่งบทร้อยกรองได้
21.    วิเคราะห์อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ  และภาษาถิ่น
22.    อธิบายและวิเคราะห์การสร้างคำในภาษาไทย
23.    วิเคราะห์และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อต่างๆ
24.    วิเคระห์วิจารณ์วรรณคดีวรรณกรรมได้
25.    วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีตามวิถีสังคมในอดีต
26.    วิเคราะห์ประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีวรรณกรรม
27.    สังเคราะห์ข้อคิดวรรณคดีและวรรณกรรมแล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
28.    ท่องจำและบอกคุณค่าของบทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า